วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8












                                      บันทึกการเรียน


         วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มแยกย้ายไปทำสื่อคณิตศาสตร์แล้วนำมาส่งอาทิตย์หน้าและนำเสนอสื่อ

อุปกรณ์

1.  ไม้บรรทัด , ดินสอ
2.   กาวลาเท็กซ์ , กาวร้อน
3.   กระดาษแข็ง
4.   กระดาษร้อยปอนด์
5.   คัดเตอร์ , กรรไกร
6.   สีไม้ , ปากกาเมจิ
7.   แผ่นเคลือบใส
8.   หลอดน้ำ
9.   ตีนตุ๊กแก
10. กระดาษสี


วิธีทำ

1. ตัดกระดาษแข็งเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาดไม่ใหญ่มาก
2. นำกระดาษสีน้ำตาลมาแปะทับกับกระดาษแข็งแล้วจากนั้นก็เคลือบลงไป
3. นำหลอดน้ำมาตัดเป็นชิ้นขนาดพอดี แล้วทำมาวางให้เป็นเเถว เท่าๆกัน
4. นำตีนตุ๊กแตมาติดที่กระดาษแข็ง
5. นำกระดาษร้อยปอนด์มาตัดประมาณ 3 นิ้ว 
6. วาดรูปลงไปในกระดาษร้อยปอนด์ตามหมวดที่เราได้กำหนดไว้
7. จากนั้นกูนำรูปที่เราวาดมาระบายสีให้สวยงาม
8. พอทำเสร็จหมดเรียบร้อยเราก็นำหมวดที่เราทำมาวางบนช่อง ให้สัมพันธ์กัน

♫ ทำสื่อคณิตศาสตร์ ♫








บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11










                                        
  บันทึกการเรียน
            วันนี้อาจารย์ให้ทั้ง 2 เซกมาเรียนรวมกันและอาจารย์ก็แจกกระดาษให้คนละ 1 แผ่นให้แต่ละคนสรุป " กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย " ทำส่งในชั่วโมง

💙 แผนผังความคิด 💙



💜 กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย 💜

🌻 ความสำคัญ 🌻

        เด็กปฐมวัยเป็นวัยเริ่มต้นแห่งการเรียนรู้ มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกตชอบเล่นและสำรวจสิ่งต่างๆรอบตัว คณิตศาสตร์สามารถพัฒนาเสริมสร้างให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจธรรมชาติ และสิ่งต่างๆรอบตัว การที่เด็กมีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะกระบวนการทางคณติศาสตร์และมีเจตนคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ไม่เพยงส่งผลให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่จะส่งผลต่อการเรียนรู้ในศาสตร์อื่นๆ คณิตศาสตร์จึงมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้และมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต 

🌻 สาระหลักที่จำเป็นสำหรับเด็กปฐมวัย 🌻

🌺 จำนวนและการดำเนินการ  จำนวน การรวมกลุ่ม และ การแยกกลุ่ม

🌺 การวัด  ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา

🌺 เรขาคณิต  ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง รูปเรขาคณิตสามมิติและสองมิติ

🌺 พีชคณิต  แบบรูปและความสัมพันธ์

🌺 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น  การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ 

🌺 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์  การแก้ปัญหา การใช้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ

🌻 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้  🌻

สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค.ป. 1.1 : เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวน และการใช้จำนวนในชีวิตจริง 

สาระที่ 2 : การวัด
มาตรฐาน ค.ป. 2.1 : เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา

สาระที่ 3 : เรขาคณิต
มาตรฐาน ค.ป. 3.1 : รู้จะใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และ ระยะทาง
มาตรฐาน ค.ป. 3.2 : รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ 

สาระที่ 4 : พีชคณิต
มาตรฐาน ค.ป 4.1 : เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์

สาระที่ 5 :  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค.ป. 5.1 : รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ

สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

🍀 คำศัพท์ 🍀

1.  Mathematics          คณิตศาสตร์
2.  Geometry              เรขาคณิต
3.  Length                  ความยาว
4.  Weight                  น้ำหนัก
5.  Volume                 ปริมาตร
6.  Algebra                 พีชคณิต
7.  Analyze                 วิเคราะห์
8.  Probability             ความน่าจะเป็น
9.  Direction                ทิศทาง
10. Position                 ตำแหน่ง  


ประเมินอาจารย์  ▶  อาจารย์อธิบายว่าแต่ละมาตรฐานเป็นยังไง ต้องเพิ่มเติมหรือเขียนตรงไหน
 ประเมินตัวเอง ▶ ตั้งใจฟังที่อาจารย์บอกและตั้งใจทำงาน
 ประเมินเพื่อน  ▶ เพื่อนตั้งใจฟังอาจารย์และตั้งใจทำงาน

บันทึกการเขียนครั้งที่ 12











บันทึกการเรียน


กิจกรรมที่ 1

          อาจารย์สั่งงานให้กลับไปสรุปแผนผังความคิดเรื่อง สาระการเรียนรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ " 



✿ กิจกรรมที่ 2 ✿

          อาจารย์แจกกระดาษให้คนละ 1 แผ่น จากนั้นอาจารย์ได้กำหนดหัวข้อให้ทำคือเรื่อง " ไก่ " แล้วให้เราทำเป็นแผนผังความคิด

    
      พอเพื่อนทำเสร็จกันหมดแล้วอาจารย์ก็ได้ให้นำไปส่งแล้วอาจารย์ก็ตรวจว่าแต่ละคนทำแบบไหน หัวข้อแต่ละคนนั้นมีอะไรนอกเหนือจากที่อาจารย์ยกตัวอย่างไหม


✿ กิจกรรมที่ 3 ✿

           อาจารย์ให้ทำแผ่นพับรายงานผู้ปกครองโดยอาจารย์จะกำหนดหัวข้อดังนี้

1. หน้าปก
2. หน่วยที่จะจัดการสอน
3. ข้อมูลของหน่วยที่เราทำ
4. ข้อเสนอแนะให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการสอนเด็ก
5. แบบฝึกหัด หรือ เกมส์ ให้เด็กได้ลองทำ

🍔 แผ่นพับรายงานผู้ปกครอง 🍔






ประเมินอาจารย์  ▶  อาจารย์สอนได้เข้าใจและอธิบาย ทบทวนซ้ำๆ
 ประเมินตัวเอง ▶ ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและตั้งใจทำงานส่ง
 ประเมินเพื่อน  ▶ เพื่อนตั้งใจทำงานและฟังอาจารย์สอน


ปิดคอร์สสำหรับเทอมนี้ ❤️








วันศุกร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10














บันทึกการเรียนรู้

ความสัมพันธ์สองแกน


               วันนี้นำสื่อคณิตศาสตร์ที่อาจารย์ให้นำกลับไปแก้ไขและกลับไปทำใส่กล่องในเรียบร้อย นำมาส่งอาจารย์

♡ ความสัมพันธ์สองแกน ♡



        


วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9











บันทึกการเรียนรู้



            วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มนำสื่อคณิตศาสตร์นำมาส่งและนำเสนอว่าสื่อที่กลุ่มเราได้นั้นวิธีการเล่นอย่างไร กลุ่มของพวกเราได้ทำสื่อเกี่ยว " ความสัมพันธ์สองแกน " 

♬ ความสัมพันธ์สองแกน ♬






📥 นำเสนอสื่อคณิตศาสตร์ 📥







☁️ คำศัพท์ ☁️

1.     Tube Water       หลอดน้ำ
2.     Cutter                คัดเตอร์
3.     Scissors             กรรไกร
4.     Hard Paper        กระดาษแข็ง
5.     Colour Paper กระดาษสี
6. Ruler ไม้บรรทัด
7. Pencil ดินสอ
8. Clear Coated Sheet แผ่นเคลือบใส
9. Chemical pen    ปากกาเคมี
10.   Hard Paper        กระดาษแข็ง

ประเมินอาจารย์  ▶  อาจารย์แนะนำและอธิบายสื่อให้เข้าใจว่าต้องทำแบบไหน ต้องเพิ่มเติมหรือแก้ไขตรงไหน
 ประเมินตัวเอง ▶ ตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบาย
 ประเมินเพื่อน  ▶ เพื่อนตั้งใจฟังอาจารย์อธิบาย




วันพุธที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7











บันทึกการเรียน
    

         จากอาทิตย์ที่แล้วอาจารย์ได้สั่งให้แต่ละกลุ่มทำสื่อคณิตศาสตร์
วันนี้อาจารย์ให้ทั้ง 2 เซกมาเรียนด้วยกันเพื่อที่อาจารย์จะได้แจกวัสดุอุปกรณ์ให้แต่ละกลุ่มไปทำ และอาจารย์ก็อธิบายเกี่ยวกับการทำสื่อให้แต่ละกลุ่มฟังว่าสื่อชิ้นนี้ทำแบบไหน ใครมีอะไรสงสัยอาจารย์ก็จะช่วยอธิบายให้ฟัง

อุปกรณ์ทำสื่อ ⌛



⌘ คำศัพท์ ⌘
1.   Paper                กระดาษ
2.   Equipment        อุปกรณ์
3.   Glue                  กาว
4.   Step                   ขั้นตอน
5.   Chemical pen    ปากกาเคมี
6.   Hard Paper        กระดาษแข็ง
7.  Clear coated sheet แผ่นเคลือบใส
8. Ruler ไม้บรรทัด
9. Plan การวางแผน
10. Rope เชือก


ประเมินอาจารย์  ▶  อาจารย์สั่งงานแล้วก็อธิบายขั้นตอนให้ฟังได้เข้าใจ
 ประเมินตัวเอง ▶ ตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบาย
 ประเมินเพื่อน  ▶ เพื่อนตั้งใจฟังอาจารย์อธิบาย

วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6














                                    บันทึกการเรียนรู้

           วันนี้อาจารย์พูดถึง " การเล่น  กระบวนการทำงานของสมอง และนักทฤษฎี คือ เพียเจต์ "

การเล่น
       เป็นวิธีการที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ โดยเด็กจะเกิดการเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นเครื่องที่ทำให้เด็กนั้นเกิดการเรียนรู้ โดยประสาทสัมผัสทั้ง 5 จะทำงานสัมพันธ์กับการทำงานของสมอง

กระบวนการทำงานของสมอง

ความรู้ต่างๆที่ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
สมอง
เกิดการซึมซับ และ การรับรู้
วิเคราะห์
เกิดความรู้ใหม่

นักทฤษฎี " เพียเจต์ "



          เพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่า สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม เพียเจต์เน้นความสำคัญของการเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กมากกว่าการกระตุ้นเด็กให้มีพัฒนาการเร็วขึ้น เพียเจต์สรุปว่า พัฒนาการของเด็กสามารถอธิบายได้โดยลำดับระยะพัฒนาทางชีววิทยาที่คงที่ แสดงให้ปรากฏโดยปฏิสัมพันธ์ของเด็กกับสิ่งแวดล้อม 


    พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้
    1. ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ เช่น การไขว่คว้า การเคลื่อนไหว การมอง การดู ในวัยนี้เด็กแสดงออกทางด้านร่างกายให้เห็นว่ามีสติปัญญาด้วยการกระทำ เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ แม้ว่าจะไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคำพูด เด็กจะต้องมีโอกาสที่จะปะทะกับสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพัฒนาการด้านสติปัญญาและความคิดในขั้นนี้ มีความคิดความเข้าใจของเด็กจะก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เช่น สามารถประสานงานระหว่างกล้ามเนื้อมือ และสายตา เด็กในวัยนี้มักจะทำอะไรซ้ำบ่อยๆ เป็นการเลียนแบบ พยายามแก้ปัญหาแบบลองผิดลองถูก เมื่อสิ้นสุดระยะนี้เด็กจะมีการแสดงออกของพฤติกรรมอย่างมีจุดมุ่งหมายและสามารถแก้ปัญหาโดยการเปลี่ยนวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการแต่กิจกรรมการคิดของเด็กวัยนี้ส่วนใหญ่ยังคงอยู่เฉพาะสิ่งที่สามารถสัมผัสได้เท่านั้น
    2. ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น คือ
      -- ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่ เพราะเด็กยังคงยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง คือถือความคิดตนเองเป็นใหญ่ และมองไม่เห็นเหตุผลของผู้อื่น ความคิดและเหตุผลของเด็กวัยนี้ จึงไม่ค่อยถูกต้องตามความเป็นจริงนัก นอกจากนี้ความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆ ยังคงอยู่ในระดับเบื้องต้น เช่น เข้าใจว่าเด็กหญิง 2 คน ชื่อเหมือนกัน จะมีทุกอย่างเหมือนกันหมด แสดงว่าความคิดรวบยอดของเด็กวัยนี้ยังไม่พัฒนาเต็มที่ แต่พัฒนาการทางภาษาของเด็กเจริญรวดเร็วมาก

      -- ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนเลข เริ่มมีพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ แต่ไม่แจ่มชัดนัก สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยไม่คิดเตรียมล่วงหน้าไว้ก่อน รู้จักนำความรู้ในสิ่งหนึ่งไปอธิบายหรือแก้ปัญหาอื่นและสามารถนำเหตุผลทั่วๆ ไปมาสรุปแก้ปัญหา โดยไม่วิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนเสียก่อนการคิดหาเหตุผลของเด็กยังขึ้นอยู่กับสิ่งที่ตนรับรู้ หรือสัมผัสจากภายนอก
    3. ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ เด็กวัยนี้สามารถที่จะเข้าใจเหตุผล รู้จักการแก้ปัญหาสิ่งต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมได้ สามารถที่จะเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องความคงตัวของสิ่งต่างๆ โดยที่เด็กเข้าใจว่าของแข็งหรือของเหลวจำนวนหนึ่งแม้ว่าจะเปลี่ยนรูปร่างไปก็ยังมีน้ำหนัก หรือปริมาตรเท่าเดิม สามารถที่จะเข้าใจความสัมพันธ์ของส่วนย่อย ส่วนรวม ลักษณะเด่นของเด็กวัยนี้คือ ความสามารถในการคิดย้อนกลับ นอกจากนั้นความสามารถในการจำของเด็กในช่วงนี้มีประสิทธิภาพขึ้น สามารถจัดกลุ่มหรือจัดการได้อย่างสมบูรณ์ สามารถสนทนากับบุคคลอื่นและเข้าใจความคิดของผู้อื่นได้ดี
    4. ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) นี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่ สามารถที่จะคิดแบบนักวิทยาศาสตร์ สามารถที่จะตั้งสมมุติฐานและทฤษฎี และเห็นว่าความเป็นจริงที่เห็นด้วยการรับรู้ที่สำคัญเท่ากับความคิดกับสิ่งที่อาจจะเป็นไปได้ เด็กวัยนี้มีความคิดนอกเหนือไปกว่าสิ่งปัจจุบัน สนใจที่จะสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับทุกสิ่งทุกอย่างและมีความพอใจที่จะคิดพิจารณาเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่มีตัวตน หรือสิ่งที่เป็นนามธรรมพัฒนาการทางการรู้คิดของเด็กในช่วงอายุ 6 ปีแรกของชีวิต ซึ่งเพียเจต์ ได้ศึกษาไว้เป็นประสบการณ์ สำคัญที่เด็กควรได้รับการส่งเสริม มี 6 ขั้น ได้แก่

      1. ขั้นความรู้แตกต่าง (Absolute Differences) เด็กเริ่มรับรู้ในความแตกต่างของสิ่งของที่มองเห็น
      2. ขั้นรู้สิ่งตรงกันข้าม (Opposition) ขั้นนี้เด็กรู้ว่าของต่างๆ มีลักษณะตรงกันข้ามเป็น 2 ด้าน เช่น มี-ไม่มี หรือ เล็ก-ใหญ่
      3. ขั้นรู้หลายระดับ (Discrete Degree) เด็กเริ่มรู้จักคิดสิ่งที่เกี่ยวกับลักษณะที่อยู่ตรงกลางระหว่างปลายสุดสองปลาย เช่น ปานกลาง น้อย
      4. ขั้นความเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง (Variation) เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ เช่น บอกถึงความเจริญเติบโตของต้นไม้
      5. ขั้นรู้ผลของการกระทำ (Function) ในขั้นนี้เด็กจะเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลง
      6. ขั้นการทดแทนอย่างลงตัว (Exact Compensation) เด็กจะรู้ว่าการกระทำให้ของสิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลงย่อมมีผลต่ออีกสิ่งหนึ่งอย่างทัดเทียมกัน
    กระบวนการทางสติปัญญามีลักษณะดังนี้
    1. การซึมซับหรือการดูดซึม (assimilation) เป็นกระบวนการทางสมองในการรับประสบการณ์ เรื่องราว และข้อมูลต่าง ๆ เข้ามาสะสมเก็บไว้เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
    2. การปรับและจัดระบบ (accommodation) คือ กระบวนการทางสมองในการปรับประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่ให้เข้ากันเป็นระบบหรือเครือข่ายทางปัญญาที่ตนสามารถเข้าใจได้ เกิดเป็นโครงสร้างทางปัญญาใหม่ขึ้น
    3. การเกิดความสมดุล (equilibration) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากขั้นของการปรับ หากการปรับเป็นไปอย่างผสมผสานกลมกลืนก็จะก่อให้เกิดสภาพที่มีความสมดุลขึ้น หากบุคคลไม่สามารถปรับประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์เดิมให้เข้ากันได้ ก็จะเกิดภาวะความไม่สมดุลขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญาขึ้นในตัวบุคคล
    ❤️  งานมอบหมาย ❤️

           
            อาจารย์ให้เราจับกลุ่ม 3 คน แล้วจากนั้นให้ไปทำสื่อคณิตศาสตร์มาส่งโดยที่อาจารย์จะเป็นคนกำหนดสื่อเองว่ากลุ่มไหนได้ทำสื่อคณิตศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องอะไร กลุ่มของเราได้ " กิจกรรมสองแกน "


      คำศัพท์ ⫸

    1.    Launching         การลงมือทำ
    2.    Abscrb               ซึมซับ
    3.    Learning            การเรียนรู้
    4.    Measurement     การวัด
    5.    Number              จำนวน
    6.    Bar  Graph         กราฟแท่ง
    7.    Line Graph        กราฟเส้น
    8.    Mathematics      คณิตศาสตร์
    9.    Change              เปลี่ยนแปล
    10. ฺ Behavior           พฤติกรรม


    ประเมินอาจารย์  ▶  อาจารย์สอนได้เข้าใจและอธิบาย ทบทวนซ้ำๆจนให้นักศึกษาเข้าใจ อาจารย์ยกตัวอย่างให้เข้าใจ
     ประเมินตัวเอง ▶ ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
     ประเมินเพื่อน  ▶ เพื่อนช่วยกันตอบคำถามและช่วยกันทำกิจกรรมได้ดี


      บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

                                            บันทึกการเรียน          วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มแยกย้ายไปทำสื่อคณิตศาสตร์แล้ว...