วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4















บันทึกการเรียนรู้


          วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละคนไปเข้าชมนิทรรศการของพี่นักศึกษาชั้นปีที่ 5  ซึ่งเป็นช่วงที่พี่ได้ฝึกสอนตามโรงเรียนต่างๆ ได้ผลิตสื่อการสอนให้กับเด็กๆ เขียนแผนการสอน พี่ๆก็ได้อธิบายเกี่ยวกับโครงการหรือรูปแบบการสอนของแต่ละโรงเรียนที่พี่ได้ไปฝึกสอนมาเพื่อแนะนำให้น้องๆได้รู้



การสอนแบบไฮสโคป

ไฮสโคป (High Scope)

            ไฮสโคป (High Scope) เป็นการสอนที่เน้นการเรียนรู้แบบลงมือทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลายด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กและการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น โดยการให้โอกาสเด็กเป็นผู้ริเริ่มการเล่นหรือกิจกรรมต่าง ๆ อย่างอิสระ

แนวการสอนแบบไฮสโคป (High Scope)


1. การวางแผน (Plan) เป็นการกำหนดแนวทางการปฏิบัติ หรือการดำเนินงานตามงานที่ได้รับมอบหมายหรือสิ่งที่สนใจด้วยการสนทนาร่วมกันระหว่างครูกับเด็ก และเด็กกับเด็ก ว่าจะทำอะไร อย่างไร การวางแผนกิจกรรมนี้เด็กอาจแสดงด้วยภาพหรือสัญลักษณ์ประจำตัวเด็กหรือบอกให้ครูบันทึก เป็นกระบวนการที่เด็กมีโอกาสเลือกและตัดสินใจ

2. การปฏิบัติ (Do) คือ การลงมือทำกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ เป็นส่วนที่เด็กได้ร่วมกันคิด แก้ปัญหา ตัดสินใจ และทำงานด้วยตนเอง หรือร่วมกับเพื่อนอย่างอิสระตามเวลาที่กำหนดโดยมีครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือในจังหวะที่เหมาะสม เป็นส่วนที่เด็กได้มีการพัฒนาการพูดและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมสูง
3. การทบทวน (Review) เด็ก ๆ จะเล่าถึงผลงานที่ตนเองได้ลงมือทำเพื่อทบทวนว่าตนเองนั้นได้ปฏิบัติงานตามแผนที่ได้วางไว้หรือไม่ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร การทบทวนจุดประสงค์ที่แท้จริงคือ ต้องการให้เด็กได้เชื่อมโยงแผนการปฏิบัติงานกับผลงานที่ทำ รวมถึงการเล่าประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้ลงมือทำด้วยตนเอง

จุดเด่นของแนวการสอนไฮสโคป (High Scope)


1. พื้นที่ ต้องมีพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม เพื่อให้เอื้อต่อการเรียนการสอนที่เน้นการเรียนแบบร่วมมือกระทำ มุมสำคัญที่ควรมี คือ มุมศิลปะ มุมหนังสือ มุมบ้าน มุมวิทยาศาสตร์ มุมบล็อก

2. วัสดุอุปกรณ์ สื่อการเรียนและอุปกรณ์ต้องมีมากพอและหลากหลาย เพื่อช่วยให้เด็กได้เรียนรู้พัฒนาแผนการทำงาน และดำเนินการตามแผน
3. การจัดเก็บ เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้เกี่ยวกับวงจรการค้นหา-ใช้-เก็บคืน ดังนั้น การจัดวางสิ่งของในห้องเรียนก็ต้องเอื้อให้เด็กได้เรียนรู้ด้วนตนเอง ครูต้องจัดวางอุปกรณ์ให้เด็กสามารถค้นหาได้ง่าย สะดวก ปลอดภัย เด็กสามารถหยิบมาใช้และเก็บคืนได้เอง กระบวนการทั้งหมดนี้จะช่วยส่งเสริมให้เด็กรู้จัดสังเกต เปรียบเทียบ มีความรับผิดชอบและช่วยเหลือ

ประโยชน์ของแนวการสอนไฮสโคป (High Scope) ที่มีต่อเด็ก


1. สอนให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกกับผู้อื่น ซึ่งเริ่มต้นจากความไว้วางใจโยครูต้องเป็นผู้สร้างความไว้วางใจให้แก่เด็กเพื่อให้เด็กได้ลงมือทำกิจกรรมหรือชิ้นงานตามความสนใจของตนเองและมีความสนุกในการเรียนรู้ที่จะทำงาน

2. การลงมือทำงานฝึกให้เด็กวางแผนการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน เป็นระบบ
3. เด็กได้ฝึกสมาธิทำให้เด็กเกิดปัญญา ฝึกความมีระเบียบวินัย  ฝึกการคิดอย่างมีความหมาย ผลที่ตามมาคือ ความสำเร็จในการทำงานที่ได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง  ได้เรียนรู้และมีความสุขในการทำงานที่ตนสนใจ


ค่านิยม 12 ประการ


Project  Approach

คำศัพท์

1. Plan   -   การวางแผน

2. Do    -  การปฏิบัติ

3. Review  -  การทบทวน

4. Classroom research - วิจัยในชั้นเรียน

5. Project  Approach  - การสอนแบบโครงการ

6. The area  - พื้นที่

7. Equipment  -  วัสดุอุปกรณ์

8. Values -  ค่านิยม

9. Exhibition  -  นิทรรศการ

10. Positive interaction -  ปฏิสัมพันธ์เชิงบวก






ประเมินอาจารย์

         อาจารย์ให้นักศึกษาเข้าไปดูนิทรรศการของพี่ปี 5 เพื่อที่เราจะได้ดูเป็นประสบการณ์เอาไว้ใช้ในเวลาที่เราออกฝึกสอน

ประเมินเพื่อน

         เพื่อนๆตั้งใจกันฟังเวลาที่พวกพี่ได้อธิบายเกี่ยวกับโครงการที่ได้ทำ

ประเมินตัวเอง

        ทำให้ได้รับความรู้และประสบการณ์เพิ่มมากขึ้นจากที่เคยผ่านมา 
   







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

                                      บันทึกการเรียน          วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มแยกย้ายไปทำสื่อคณิตศาสตร์แล้ว...